เล่าสุขกันฟัง

ว่าวเบอร์อามัส

ชื่อผลงาน : ว่าวมลายู
ขนาด : 
วัสดุ : 
เทคนิค : 
อยากให้ท่านเล่าถึงแนวคิดของผลงานชิ้นนี้
แนวคิดของผลงานในครั้งนี้ : อยากให้ชาวสามจังหวัดภาคใต้มีความสุข มีรอยยิ้ม มีกิจกรรมที่ทำให้เกิดความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียดจากเหตุการณ์ความไม่สงบ มาสร้างความสามัคคีในหมู่ผู้คนให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข
ความหมายของส่วนต่างๆ ในผลงานของท่านโดยละเอียด :
แรงบันดาลใจและที่มาของแนวความคิด :
จุดเด่นของผลงานในครั้งนี้ : ความใหญ่และลวดลายของดอกไม้ที่มีอยู่ในสามจังหวัด ที่มีความหลายหลายและสวยงาม แต่ยังคงเป็นว่าวเบอร์อามัสที่สวยงามและโดดเด่น
อยากให้ท่านได้เล่าถึงวิธีการทำงานโดยละเอียด
ท่านใช้วัสดุและเทคนิคใดในการสร้างสรรค์ผลงาน : 
1.ลำตัว ประกอบด้วย หัวใจ คือดอกที่อยู่ตรงกลางต้องเป็นดอกที่ที่มีสีสดใสที่สุดเพราะนั้นคือหัวใจหลักของว่าวเบอร์มัส จะใช้ดอกลักษณะไหนก็ได้แต่ต้องเด่นที่สุด 
2.ลวดลาย ของว่าว เป็นลักษณ์ดั้งเดืมของชาวมลายู คนสมัยก่อนดัดแปลงลวดลายจากพืชผลท้องถิ่นมาเป็นลาย เช่น ใบพลู, ใบสาเก, ใบสาหร่าย, ใบผักบุ้ง, ส่วนลายดอกไม้จะเน้นดอกชบาที่มี 5 แฉก ที่สำคัญลายในใบไม้บนว่าวจะไม่ทิ่มแทงกัน แต่ละลายของใบจะหลบกัน เน้นการไม่เบียดเบียนกันและกัน แต่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การทำลวดลายเน้นกระดาษเป็นชั้นๆทำให้ลายมีมิติเวลาเห็นจะดูมีชีวิต ซึ่งการซ้อนของลวดลายกระดาษต้องซ้อนมากกว่า 3 ชั้น 
3.ปีก ปีกทั้งสองข้างต้องซ้อนกระดาษในลวดลายเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลเพราะต้องซ้อนกระดาษให้เท่ากันเพราะอาจทำให้ตัวว่าวไม่สมดุลกัน 
4. หัว ไม่เน้นลวดลาย แต่เน้นการใสพูให้ดูแล้วสวยงาม พูก็จะมีสีสันต่างกันออกไป แต่จะเน้นสีตามตัวว่าวแต่ละตัว
5.หาง เป็นตัวเพิ่มเติมจากตัวว่าวเพื่อให้เกิดความสวยงานและอ่อนช้อยมายิ่งขึ้นและต้องใสลาดลายเช่นกันทั้งสองช้างลวดลายต้องให้เหมือนกับลำตัวของว่าว
6.อินทรธนู ในส่วนที่อยู่บนลำตัวว่าว เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกัน เพราะสามารถบ่งบอกว่าว่าชนิดนี้เป็นขอกษัตรีหรือผูที่มีเกียรติสามารถใช้ว่าวชนิดนี้ได
7. แอก เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ว่าวมีเสียง สามารถรับรู้ไดเลยว่าวของเราอยู่ในส่วยใหนของท้องฟ้าและเป็นเสียงเอกลักษะ
ขั้นตอนการทำงาน : เริ่มประชุมสมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบลายว่าวทั้ง 10 ตัวให้มีความสวยงาม สะดุดตา แต่ยังคงความงดงาม และแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
1.ฝ่ายจัดหาไม้ไผ่ ให้ฝ่ายจัดหาไม้ไผ่เริ่มคัดเลือกไม้ไผ่ที่แก่พอประมาณห้ามแก่หรืออ่อนเกินไปเพราะจะทำให้หักโค้งลำบากเพราะอาจจะหักหรือแตกง่ายจึงต้องคัดเลือกไม้ไผ่เป็นอย่างดี
2.ฝ่ายเหลาไม้ไผ่ ให้ฝ่ายจัดเหลาไม้ไผ่วัดขนาดของว่าวและทำการเหลาตามขนาดของว่าวทั้ง 10 เหลากระดงหลัก ปีกว่าว กลางปีก ขา ให้มีขนาดความยาวให้เหมาะสม
3.ฝ่ายประกอบโครง ให้ฝ่ายจัดทำโครงนำไม้ไผ่ที่ได้เหลาเรียบร้อยแล้วมาประกอบให้เป็นโครงตามขนาดที่เหมาะสม นำเชือกมาผูกตามข้อต่อของว่าวที่สมบูรณ์
4.ฝ่ายจัดทำลวดลายบนว่าว ฝ่ายนี้เมื่อรู้ขนาดของว่าวแล้ว ก็นำกระดาษมันปูสีดำมาทำการแกะลายรอบที่ 1 เมื่อได้ลายเสร็จแล้วก็นำกระดาษสีทองทับลายที่ได้แกะตั้งไว้ แล้วนำมาติดกาวให้ได้ลายสีทองที่สวยงาม จากนั้นเมื่อกาวแห้งแล้วนำมาแกะลายอีกรอบแล้วนำกระดาษสีต่างๆมาแปะตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ก็จะได้ลวดลายและสีสันที่สวยงาม
5.ฝ่ายประกอบว่าวเข้าโครง นำโครงว่าวและตัวว่าวที่แกะเสร็จแล้ว นำมาประกอบให้เสร็จสมบูรณ์และติดพู่ตามจุดต่างๆให้ดูอ่อนช้อยและคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ของว่าวที่สืบทอดกันมา
ระยะเวลา : ว่าว 1 ตัว ใช้เวลาประมาณ 3-4  วัน
ทีมงาน :  ทั้งหมดมี 5 คน ประกอบด้วย
1.นายมาหามะรอซี ตะลี
2.นายอาแล ตอแลมา
3.นายมูฮำหมัดยากี เจ๊ะแว
4.นายแวอารง แวโนะ
5.มะยูโซะ อาตะบู
ในมุมมองของท่านวัฒนธรรมและรากเหง้าความเป็นไทยส่งผลต่อแนวความคิดและผลงานท่านอย่างไร : คิดว่าวัฒนธรรมในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันจนถึงปัจจุบันเป็นการสื่อความหมายที่ดีมาก เพราะได้บ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีจากอดีตจนถึงปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมในสมัยก่อนในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะคิดว่าวัฒนธรรมในอดีตจะมีเรื่องราวดีๆให้ได้เผยแพร่จนถึงปัจจุบัน เหมือนผลงานของกลุ่มคนรักว่าวยะลาได้เสนอ ความเป็นไทยในสมัยก่อนนั้นคือ ว่าว เพราะว่าวในยุคก่อนจะมีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถครอบครองหรือเล่นว่าวได้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมเริ่มเปลี่ยนไปทุกคนสามารถเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงและสร้างรอยยิ้มให้กับทุกคน
ท่านเป็นคนจังหวัดใด เสน่ห์ของท้องถิ่นและชุมชนของท่านคืออะไร : เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เสน่ห์ของท้องถิ่นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว น้ำตก ทะเล ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์มากๆ ธรรมชาติต้นไม้ อากาศบริสุทธิ์ที่สุด มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อ คือ ลองกอง อาหารที่มีรสชาติบ้านๆ คือ บูดูและปลากุเลาที่หายากและมีเนื้อปลาที่อร่อยมาก ด้านวัฒนธรรมคือการละเล่นปังจักสีละ หมากเก็บ ลูกแก้ว และการละเล่นว่าวในช่วงฤดูร้อนและมีมัสยิดและวัดที่เก่าแก่มากมาย เสน่ห์ที่ผมชอบของคนที่นี่คือ รอยยิ้มและการมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเสน่ห์ที่หายากในสังคมเมืองสมัยนี้ครับ
ความสุขแบบไทยๆ ในมุมมองของท่านคืออะไร : สุขจากภายใน จากความคิดจิตใจของตัวเอง ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ตื่นเช้า เข้าสวนยาง ทำงาน หาเงินเลี้ยงชีพแบบบ้านๆ ปลูกผัก ทำสวน เลี้ยงปลา และพบปะหารือพูดคุยกันหลังเลิกงาน รวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามพอมีพอเพียง สามัคคีกันในหมู่บ้าน ไม่จำเป็นต้องมีบ้านโตๆ รถหรูๆ แค่มีเวลาให้ครอบครัว ให้ลูก ให้พ่อแม่ ญาติพี่น้องและทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทุกคน และที่สำคัญเป็นตัวแทนของการสืบทอดการทำว่าว และขั้นตอนวิธีการทำทุกขั้นตอน เป็นความสุขที่แท้จริงของผมเพราะอยากให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดต่อไป
อยากให้ท่านเล่าถึงความรู้สีกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ICONSIAM : รู้สึกภูมิใจมากๆ ในฐานะตัวแทนของคนสามจังหวัด คงอธิบายได้ง่ายๆว่า ดีใจและภูมิใจมากๆ ที่สามารถเป็น 1 ใน iconsiam ที่เป็นแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวใหม่ของไทย ได้นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก