ศิลปะและศิลปิน

ตัวเต้นโต

ชื่อผลงาน ตัวเต้นโต  
ขนาด :  สูง 1.7-2 ม.
วัสดุ/เทคนิค :   เชือกฟาง,หน้ากากไม้กลึง,เสริมโครงเหล็ก /ตัดเย็บ และกลึงไม้
อยากให้ท่านเล่าถึงแนวคิดของผลงานชิ้นนี้
แนวคิดของผลงานในครั้งนี้ : “ตัวโต” เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ มีสัตว์สี่เท้า บางตัวมีขนยาวปุกปุย บางตัวไม่มีขน ส่วนหัวบางแห่งมีลักษณะคล้ายเลียงผา บางตัวมีหัวคล้ายมังกร เฉพาะที่ปากมีการออกแบบให้ขยับและคาบสิ่งของได้ โดยมีเรื่องราวในสมัยพุทธกาล หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรม โปรดพุทธมารดา และทรงจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธองค์เสด็จลงสู่โลกมนุษย์ในวันเทโวโรหนะ ครั้งนั้นบรรดาสัตว์ทั้งหลายในป่าหิมพานต์ได้พากันไปเฝ้ารับเสด็จ และแต่ละตัวต่างก็แสดงความลิงโลดดีใจ ในการเสด็จกลับของพระพุทธ เมื่อมนุษย์ไปเห็นเข้าก็จดจำมาจำลองเป็นการแสดงเต้นโต ซึ่งเป็นการแสดงของชาวไทใหญ่
ความหมายของส่วนต่างๆ ในผลงานของท่านโดยละเอียด : ส่วนหัวของโตจะประดับประดาด้วยลวดลายและแสดงถึงใบหน้าของตัวโตที่แกะสลักจากไม้สื่อถึงใบหน้าที่อิ่มเอิบใจ เขาสีทองแสดงและสื่อให้เห็นถึงความสูงส่ง เจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง  ขนสีขาวบริสุทธิ์แสดงถึงความบริสุทธิ์และสบายใจแก่ผู้ได้พบเห็น 
แรงบันดาลใจและที่มาของแนวความคิด : แรงบัลดาลใจจากการที่ได้รับฟังเรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนาตามนิยามความเชื่อของชนชาติไต หรือคนภาคเหนือของประเทศไทย เกี่ยวกับสัตว์ป่าหิมพานต์ในตำนาน ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนก่อเกิดให้เป็นผลงานทางศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดงเลียบแบบลีลาท่าทางของตัวโต ที่มีลีลาท่าทาง และการเคลื่อนไหวที่งดงาม คล่องแคล่ว ว่องไว ภายใต้ขนฟางสีขาวสะอาดตาแก่ผู้พบเห็น 
จุดเด่นของผลงานในครั้งนี้ : ตัวโตขนาดใหญ่ สีขาวบริสุทธิ์สร้างจากภูมิปัญญาของช่างชาวไตใหญ่ ด้วยฝีมือการประดิษฐ์ด้วยมือ ประดับประดาลวดลายของผ้าและแต่งแต้มสีหน้าของตัวโต ด้วยลวดลายแบบดั้งเดิมโบราณตามประเพณีของไตใหญ่ เพื่อสื่อให้เห็นถึงศิลปะลวดลายแบบไทยใหญ่
อยากให้ท่านได้เล่าถึงวิธีการทำงานโดยละเอียด
 

 

ประทีปต้นผึ้ง

ศิลปิน : กฤตพงศ์ แจ่มจันทร์
ขนาด : 1.2 x 2.3 เมตร
วัสดุ : ขี้ผึ้ง ผ้า กระดาษ และโครงเหล็ก
เทคนิค : ปั้น ชุบ
ต้นผึ้งคือหนึ่งในห้าเครื่องสักการะล้านนาที่มีมาแต่โบราณ ในอดีต เครื่องสักการะเหล่านี้จะทำขึ้นจากวัสดุที่ใช้ในวิถีชีวิต แล้วนำมาประดิษฐ์ให้วิจิตรกว่าเดิม ซึ่งต้นผึ้งก็คือการนำไขผึ้งป่ามาปั้น ชุบ (ใช้แม่พิมพ์มะละกอดิบ) แกะสลัก แล้วนำมาจัดใส่ภาชนะให้เป็นทรงพุ่มยอดแหลม สมัยก่อนนั้น เครื่องสักการะทั้ง 5 อย่าง (หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นดอก ต้นผึ้ง และต้นเทียน) ใช้ถวายบรรพกษัตริย์ล้านนา พระพุทธเจ้า และพระเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น 
การสร้างสรรค์ผลงานต้นผึ้งครั้งนี้ ศิลปินปรับทอนรูปแบบให้มีความร่วมสมัย และโปร่งสบายตากว่ารูปแบบโบราณ โดยใช้ซี่เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก ใช้ดอกขี้ผึ้งที่ชุบแม่พิมพ์มะละกอดิบ และดอกขี้ผึ้งที่ใช้เทคนิคการปั้น จัดเรียงบนโครงสีแดงเหลืองตามแบบจารีตโบราณ 
 

 

บ่อสร้างโมบายล์

ศิลปิน : ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และกลุ่มหัตถกรรมร่มบ่อสร้าง เชียงใหม่
ขนาด : 1.5 x 1.6 เมตร และ 80 x 100 ซม.
วัสดุ : ไม้และผ้า
เทคนิค : เย็บ ปัก และกรรมวิธีทำร่มบ่อสร้างแบบดั้งเดิม 
“ร่มบ่อสร้าง” คือศิลปหัตถกรรมที่โดดเด่นของภาคเหนือ เหมือนที่มีคำกล่าวว่า “แม่หญิงขี่รถถีบ ก๋างจ้อง” หมายถึง ผู้หญิงล้านนาในอดีตมักขี่รถจักรยานพร้อมกางร่มกระดาษไปวัด หากพูดถึงร่มบ่อสร้าง ผู้คนมักนึกถึงสีสันสดใสสวยงาม และงานฝีมือ ซึ่งร่มบ่อสร้างที่อยู่ในงาน “บ่อสร้างโมบายล์” นี้ก็ยังคงกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม แต่มีการประยุกต์รูปฟอร์มขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดมิติที่แตกต่าง ปัจจุบัน ร่มบ่อสร้างไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ของภาคเหนือเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ด้วย  
 

 

ผีตาโขน

ศิลปิน : จิระ จิระประวัติ ณ อยุธยา
ขนาด : สูง 3 เมตร (1 ตัว) สูง 4 เมตร (1 ตัว) สูง 5 เมตร (1 ตัว)
วัสดุ : ไฟเบอร์กราสและผ้า
เทคนิค : ปั้นหล่อและประดับผ้า
“ผีตาโขน” คือศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีอีสานอย่างแท้จริง ศิลปินศึกษาข้อมูลและออกแบบโดยผสมผสานความสนุกนาน ความทะเล้น และความประณีตอ่อนช้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว รวมถึงการเลือกใช้ชุดสีของศิลปินแล้วเติมมนตร์เสน่ห์ของอีสานลงไปในงาน จึงได้ออกมาเป็นผีตาโขนสามตัวที่สะท้อนกลิ่นอายของอีสานเป็นอย่างดี
 

 

วิถีไทยในอดีตสองฝั่งคลอง (เสาตลาดน้ำ)

ศิลปิน : มีชัย สุวรรณสาร
ขนาด : 4.8 x 7 เมตร
วัสดุ : ผ้าแคนวาส
เทคนิค : สีอะคริลิก
สายน้ำมีความสำคัญต่อรูปแบบความเป็นอยู่ วัฒนธรรม บ้านเรือน และสถาปัตยกรรมอันเป็นรูปแบบเฉพาะถิ่นของภาคกลางในอดีต เสาต้นนี้จึงทำหน้าที่ถ่ายทอดภาพความสุข ความงาม ความกลมกลืน และการดำรงชีวิตของผู้คนสองฝั่งน้ำ
 

 

วิถีไทยในอดีตสองฝั่งคลอง (เสาตลาดน้ำ)

ศิลปิน : มีชัย สุวรรณสาร (Miichay Suwrrnsaar)
ขนาด : สูง 7 เมตร
วัสดุ : ผ้าแคนวาส
เทคนิค : สีอะคริลิก
ภาคกลางของไทยอันเป็นที่ราบลุ่มมีแน่น้ำน้อยใหญ่มากมาย ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตของผู้คน ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมต่างๆ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างในอดีตกาล ศิลปินได้ถ่ายทอดผลงานผ่านการออกแบบเสาผ้าขนาดใหญ่ สร้างสรรค์ลวดลายที่ถ่ายทอดความสุข ความงาม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และการดำเนินชีวิตของผู้ในชุมชนริมน้ำ
 

 

แมวไทยสุขสยาม

ศิลปิน : คิริน ไซมอน ยัง
ขนาด : -
วัสดุ : -
เทคนิค :  สีอะคริลิก
“แมวไทย” มีอุปนิสัยและคุณสมบัติต่างจากแมวพันธุ์อื่น คือฉลาด รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ รักอิสระ และเป็นตัวของตัวเองไม่ว่าจะกิน เล่น หรือเดินไปไหนตามใจชอบ สีสันตามตัวของแมวไทย คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็นวิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ล้วนมีเอกลักษณ์และน่าสนใจทั้งสิ้น
 

ธงราวสุขสยาม

ศิลปิน : กฤษ สถาพรนานนท์
ขนาด : -
วัสดุ : ผ้าพื้นถิ่นจาก 4 ภาค
เทคนิค : ตัดเย็บ
ธงราวประดับภายในสุขสยามนี้เป็นหนึ่งในการสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน  มีสีสันผ่านลายเส้นบนผืนผ้าจากทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ เช่นผ้าย้อมคราม ผ้าชาวเขา ผ้าไหม และผ้าบาติก เป็นต้น
 

 

อุดม (คอนทัวร์ปลาตะเพียน)

ศิลปิน : วลงกรณ์ เทียนเพิ่มพูน
ขนาด : 30 x 30 ซม. (100 ตัว) และ 15 x 15 ซม. (260 ตัว)
วัสดุ : สังกะสี
เทคนิค : ตัดฉลุ ดัดรูป สาน และทาสี
การสานปลาตะเพียนใบลานคืองานหัตถศิลป์ของคนไทยที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี สะท้อนภาพความผูกพันของคนไทยกับสายน้ำและธรรมชาติ นอกจากนี้ คนไทยสมัยก่อนยังเชื่อกันว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์แแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วย เพราะช่วงเวลาที่ปลาตัวโตเต็ม คือช่วงที่ข้าวตกรวงพร้อมเก็บเกี่ยวพอดี ดั่งที่มีคำกล่าวว่า “ข้าวใหม่ปลามัน” ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขอย่างแท้จริง
การสานปลาตะเพียนในอดีตมักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ใบมะพร้าว ใบลาน และใบตาล เมื่อสานแล้วนำมาทำเป็นเครื่องแขวน ผูกไว้เหนือเปลเด็กอ่อนเพื่อให้เด็กดูเล่น และถือเป็นการอวยพรให้เด็กเจริญเติบโตสุขภาพแข็งแรง มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ปัจจุบันก็ยังเชื่อสืบกันมาด้วยว่าหากปลาตะเพียนสานแขวนอยู่สถานที่ใด ที่นั่นก็จะมั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขึ้น ศิลปินจึงถ่ายทอดความเชื่อนี้ผ่านวัสดุ เทคนิค และวิธีการทำใหม่ๆ เพื่อสื่อสารให้เข้ากับบริบทสมัยปัจจุบัน
 

 

หนุมาน

ศิลปิน : จิระ จิระประวัติ ณ อยุธยา
ขนาด : สูง 2.5 เมตร
วัสดุ : ไฟเบอร์กราสและผ้าปักลาย 
เทคนิค : ปั้น หลอ
“หนุมาน” เป็นตัวแทนของหลายสิ่งหลายอย่างในประเทศไทย อาจเรียกว่าเป็นไอคอนของสยามประเทศก็ว่าได้  การจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ให้ออกมาในรูปแบบที่เป็นตัวตนของศิลปินที่มักทำงานแนวสนุกๆ ขำๆ นั้นเป็นเรื่องยากและเสี่ยง ศิลปินจึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหลายคน รวมถึงตั้งจิตอธิษฐานด้วย ลงท้ายแล้วก็ได้หนุมานที่มีองค์ประกอบครบถ้วนและถูกต้อง ขณะเดียวกันก็ยังมีความสวยงามน่ารักตามสไตล์ของศิลปิน
 

 

แม่มาลัย (นางกวัก)

ศิลปิน : สมนึก คลังนอก (ครูปาน) 
ขนาด : สูง 2.5 เมตร 
วัสดุ : ไฟเบอร์กลาสขึ้นรูป 
เทคนิค : -
คนไทยเชื่อกันว่า นางกวักคือเทพอัปสรที่ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น กวักเรียกลูกค้าจากทุกสารทิศให้มาจับจ่ายในร้านของตน ทว่านางกวักของครูปาน นอกจากจะกวักลูกค้าเข้าร้านแล้ว ยังมีความอุดมสมบูรณ์ น่ารัก และยิ้มแย้ม เพื่อให้ผู้มาเยือนสุขสยามได้อมยิ้มมีความสุขเมื่อได้เห็นแม่มาลัย 
 

 

ช้างมงคล

ผลงาน : ช้างมงคล
ศิลปิน : เพชร วิริยะ
ขนาด : ช้างตัวผู้สูง 2.1 เมตร ช้างตัวเมียสูง 2.0 เมตร
วัสดุ : ปูนปั้น
เทคนิค : ปั้นและเขียนลาย
จ๊าง (ช้าง) สัตว์มงคลของไทยและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาทุกแผ่นดิน ถือเป็นสัตว์ที่มีเกียรติ ประวัติ และเรื่องราวมาช้านาน ส่วนช้างมงคลในสุขสยามสองเชือกนี้เป็นช้างตัวผู้และตัวเมีย ศิลปินปั้นช้างตัวผู้ในท่ายืนสง่างาม สงบ แข็งแรง งอเท้าขวาเล็กน้อย ท่าทางต้อนรับผู้คน ซึ่งการแต่งเครื่องช้างที่เห็นนี้แสดงถึงว่าช้างมาอยู่กับผู้คน ไม่ใช่ช้างป่า ส่วนช้างตัวเมียก็ยืนสงบ เรียบร้อย สุภาพ อ่อนโยน ยินดีต้อนรับทุกคนเช่นกัน